วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด




1.ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (MIS  Subsystem)  สามารถแบ่งระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้ตามหน้าที่ในองค์การเป็น  4  ระบบดังต่อไปนี้ 
จงอธิบายแต่ละระบบมาพอเข้าใจพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
            1.1 ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ  (Transaction  Processing  System)
                        ตอบ  ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ  (Transaction  Processing  System)  หรือที่เรียกว่า  TPS  หมายถึงระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น  เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลัก  โดยที่  TPS  จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ TPS  มีหน้าที่หลักอยู่  3  ประการดังนี้
                        1. การทำบัญชี  (Bookeeping)  ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์การ  การปฏิบัติงานมักเกี่ยวข้องกับบุคคล  2  กลุ่มคือ  ลูกค้า  และ  ผู้ขายวัตถุดิบโดยที่องค์การต้องมีการลงบันทึกรายการสินค้าในแต่ละวัน  และบันทึกรายการซื้อสินค้ามาเข้าร้าน
                        2. การออกเอกสาร  (Document  Issuance)  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวัน  เช่น  การออกใบรับส่งสินค้า  การออกเช็ค  ใบเสร็จรับเงิน  เป็นต้น
                        3. การทำรายงานควบคุม  (Control  Reporting)  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่างๆ  ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์การ  เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานขององค์การ  เช่น  การออกเช็คเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน เป็นต้น
                        ตัวอย่างเช่นบริษัท Avon นำเทคนิคการป้อนข้อมูลแบบสแกนบาร์โค้ดสินค้าเพื่อลดความผิดพลาดของการคีย์ข้อมูลใบสั่งสินค้า ซึ่งทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น 76% ผลผลิตเพิ่มขึ้น 75% เวลาของการสั่งซื้อสินค้าลดลง 67% ลดต้นทุนลง 65%



            1.2 ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ  (Management  Reporting  System)
                        ตอบ  ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ  (Management  Reporting  System) หรือเรียกว่า  MRS  หมายถึงระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น  เพื่อรวบรวม  ประมวลผล  จัดระบบ  และจัดทำรายงานหรือเอกสาร  สำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร      
  ตัวอย่างเช่น  การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง เป็นต้น


1.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision  Supporting  System)
      ตอบ-ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง(unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
            -ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อน
            -ช่วยในการตัดสินในที่ต้องความรวดเร็วสูง
    ตัวอย่าง การส่งสินค้า เพื่อส่งสินค้ากว่า 300 ชนิด เช่น นม เบียร์ และอื่น ๆ ระบบดังกล่าวช่วยคำนวณความสมดุลระหว่างค่านำส่ง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ กับความถี่ในการนำส่งปริมาณต่ำสุดในการสั่งสินค้า รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการตัดสินของบริษัทซาน ไมเกล โดยใช้เกณฑ์ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ ช่วยในการตัดสินใจในการบริหารงานของบริษัทซาน ไมเกล ได้มากขึ้นและยังช่วยในการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทซาน ไมเกล ในการจ้างพนักงานมาบริหารงานของบริษัท

1.4 ระบบสารสนเทศสำนักงาน  (Office  Information  System)
ตอบ เป็นระบบการจัดการสารสนเทศในสำนักงานโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในสำนักงาน เช่น อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ โมเด็ม (Modem) โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น เพื่อใช้เกี่ยวกับงานประมวลผลคำ งานพิมพ์ตั้งโต๊ะ งานส่งข่าวสารข้อมูลและอื่น ๆ เป็นระบบเกี่ยวกับการผลิตเอกสาร การติดต่อประสานงานโดยเกี่ยวข้องกับระบบ TPS และ MIS เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในงาน บริหารในสำนักงานเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงาน





2.  จงเปรียบเทียบระบบ  TPSกับระบบ  MIS  และ  DSS


ลักษณะของระบบ
ระบบประมวลผลธุรกรรม(TPS)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (MIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
(DSS)
1. วัตถุประสงค์หลัก
 ควบคุมการปฎิบัติงาน
 สนับสนุนการการบริหาร
 จัดทำและประมวลสารสนเทศ
2. จุดเด่นของระบบ
 รวบรวมและแสดงกิจกรรม
 รวบรวมประมวลผลจากระบบและจัดทำรายงาน
 จัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
3. ผู้ใช้ระบบ
นักปฎิบัติการ
องค์กร
บุคคล กลุ่มคน และองค์กร
4. ชนิดของปัญหา
 มีโครงสร้าง
 กึ่งมีโครงสร้าง
 ไม่มีโครงสร้าง
5. แหล่งข้อมูล
 เรียกสารสนเทศมาอ้างอิง
 ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล
 ใช้โมเดลในการวิเคราะห์
6. ความคล่องตัวของระบบ
 สนับสนุนการดำเนินงานในแต่ละส่วนให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย
 ระบบจะพิมพ์รายงานออกมา ตามระยะเวลาที่กำหนดจะไม่ได้ตามที่ต้องการทันที่
 onlineและrealtime



3.  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆอย่างกว้างขวาง  ทั้งทางด้านการศึกษา  เศรษฐกิจ  อุตสาหกรรม  สาธารณสุข  สิ่งแวดล้อม  และการบริการสังคม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นในปัจจุบัน  จงอธิบายผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
            ตอบผลกระทบทางบวกคือ
            1.  เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร  การบริหาร  และการผลิต  ทำให้ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย  เช่น  การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน  (Home  Banking)  การทำงานที่บ้าน  เป็นต้น
            2.  เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก  เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง  เวลา  และสถานที่ได้ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง  ทำให้มนุษย์ในสังคมสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว
            3.  มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆในฐานข้อมูลความรู้  เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์
            4.  เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ  หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย  เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้
            5.  พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่  กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน
            6.  การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  กล่าวคือ  ช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลงแต่ได้ผลผลิตมากขึ้น  เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ  เพื่อช่วยในการพิมพ์เอกสาร
            7.  ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลาย  และมีคุณภาพดีขึ้น  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากขึ้น
           

            ผลกระทบทางลบคือ
            1.  ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม  เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเคยทำอะไรอยู่ก็มักชอบทำอย่างนั้น  แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ  บุคคล  วิถีการดำเนินชีวิต  และการทำงาน  ผู้ที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังวลขึ้นจนกลายเป็นความเครียด
            2.  ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก  การแพร่จากวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งไปสู่สังคมอีกสังคมหนึ่ง  เป็นการสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้น
            3.  ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม  เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านจารีตประเพณีและศีลธรรม  แต่การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วเมื่อมีการแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ  จะมีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆ
            4.  การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง  กิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันมีน้อยลง  สังคมเริ่มห่างเหินกันเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลทำให้ทำงานอยู่ที่บ้านหรือเกิดการศึกษาทางไกลโดยไม่ต้องเดินทาง
            5.  เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
            6.  เกิดช่องว่าทางสังคม  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน  ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม  ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีจำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้
            7.  เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี  เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการใช้งานมากขึ้นในด้านต่างๆ  เช่นด้านการศึกษา  สาธารณสุข  เศรษฐกิจการค้า  และธุรกิจอุตสาหกรรม  รวมถึงกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ
            8.  อาชญากรรมบนเครือข่าย  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้น  เช่นปัญหาอาชญากรรม  ตัวอย่างเช่น  อาชญากรรมในรูปแบบของการขโมยความลับ  การขโมยข้อมูลสารสนเทศ  เป็นต้น
            9.  ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ  การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ  มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ  มีอาการแสบตา  เวียนศีรษะ  นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต  เกิดโรคทางจิตประสาท  เช่น โรคคลั่งอินเทอร์เน็ต  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น